วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

สื่ออังกฤษซัดการเมืองใหม่ทำลายปชต.-เลวกว่าปฏิวัติ

ดิ อีโคโนมิสต์” สื่อยักษ์ใหญ่อังกฤษ ประณามลัทธิพันธมิตรฯ ขัดหลักการประชาธิปไตย ระบุ การออกมาไล่ “ทักษิณ-สมัคร” ต้องไม่ลืมว่าทั้งคู่ได้รับความนิยมชมชอบจากประชาชนส่วนใหญ่อย่างท่วมท้น แถมที่ผ่านมายังพยายามแอบอ้างสถาบันเบื้องสูงให้ประชาชนเข้าใจผิด ชี้เป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างมากหากม็อบข้างถนนสามารถขับไล่รัฐบาลได้ แฉรัฐบาลกำลังถูกบีบแบ่งปันอำนาจให้ประชาธิปัตย์ที่ไม่สมควรได้ เพราะไร้ความเป็นผู้นำ ได้แต่รอให้อำนาจใส่พานยื่นให้ถึงที่ นิตยสาร The Economist ของอังกฤษฉบับปักษ์แรกเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้นำเสนอบทความเรื่อง Worse than a Coup แปลเป็นไทยได้ว่า “เลวร้ายกว่ารัฐประหารเสียอีก” โดยนำเสนอเรื่องราวแนวความคิดการเมืองใหม่ของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่นำเสนอพร้อมกับการเคลื่อนไหวล้มล้างรัฐบาล ซึ่งบทความดังกล่าวมองว่าข้อเสนอดังกล่าวนั้นขัดต่อหลักการประชาธิปไตย เนื้อหาในบทความระบุว่า ม็อบเผด็จการไม่ควรถูกปล่อยให้สามารถล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยความนิยมของคนส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีข้อบกพร่อง การยืนขึ้นมาปกป้องประชาธิปไตยบางครั้งอาจต้องรวมถึงการปกป้องบุคคลที่ไม่น่าดึงดูดความสนใจ นายกฯ ที่ออกจะดูก้าวร้าวของประเทศไทย นายสมัคร สุนทรเวช เป็นบุคคลที่ไม่น่าปกป้องเท่าไร คุณสมัครเป็นฝ่ายขวาจัด เคยถูกกล่าวหาว่าเป็นคนยั่วยุตำรวจและพวกในการทำร้ายนักศึกษาทีมาประท้วงโดยปราศจากอาวุธเมื่อปี 1976 หลักจากที่นายสมัครได้ตำแหน่งนายกฯ จากการเลือกตั้งเดือนธันวาคมที่นำประชาธิปไตยหวนกลับมา เขาได้สรรหารัฐมนตรีที่ไม่ค่อยจะดูดีนัก เพราะพวกเขาเกี่ยวข้องกับรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นนายกฯ ที่ถูกล้มด้วยรัฐประหาร รัฐบาลนี้อาจมีข้อบกพร่องสูง แต่มันจะยิ่งผิดและอันตรายยิ่งกว่าถ้ากลุ่มม็อบที่มีลักษณะเป็นเผด็จการ ที่ยึดทำเนียบรัฐบาล สามารถบีบบังคับให้รัฐบาลออกได้ หลังจากที่มีการเผชิญหน้ากันรุนแรงระหว่างกล่มที่สนับสนุนและต่อต้านรัฐบาล นายสมัครได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน โดยที่ผู้บัญชาการทหารบกก็ได้ให้การสนับสนุน แต่กระทั่งกลางอาทิตย์ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีวี่แววที่ทหารจะใช้กำลังในการสลายผู้ชุมนุม ถ้ากลุ่มคนที่เรียกตัวเองผิดผิดว่าเป็น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ชัยชนะในครั้งนี้ ระบอบประชาธิปไตยของไทยจะเข้าสู่ขีดอันตรายอย่างมาก ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้เองเมืองไทยได้ถือเป็นตัวอย่างอันดีของประเทศแถบเอเชียที่มีการเมืองแบบ pluralistic politics ผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ มีทั้งคนที่มีความคิดแบบเสรีนิยมที่เกลียด พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะใช้อำนาจในทางที่ผิด และแลเห็นสัญญาณที่น่าเศร้าว่านายสมัครก็ไม่ได้ดีกว่ากันเลย แต่แกนนำพันธมิตรฯ นั้นไม่ใช่เป็นพวกเสรีนิยมหรือนักประชาธิปไตยแต่เป็นกลุ่มนักธุรกิจ นายพล คนชั้นสูง ที่เป็นขวาจัดและน่าสยดสยอง พวกเขาไม่ได้เรียกร้องการเลือกตั้งไหม่ซึ่งพวกเขาก็ต้องพ่ายแพ้ แต่ต้องการระบอบ "การเมืองใหม่" ซึ่งแท้จริงคือการกลับไปสู่ยุคเผด็จการที่มีระบบรัฐสภาแบบสรรหาและให้อำนาจกับทหารที่จะเข้ามามีบทบาทและจัดการเมื่อไรก็ได้ พวกเขาอ้างว่าเสียงส่วนใหญ่ไนชนบทที่ชอบ พ.ต.ท.ทักษิณ และ นายสมัครเป็นกลุ่มคนที่ไร้การศึกษา และไม่สามารถออกเสียงอย่างมีเหตุผล แต่นี่คือการมองข้ามความจริงที่น่าตะขิดตะขวงใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งว่านายกฯ ทั้ง 2 คนมีนโยบายที่เป็นที่นิยมชื่นชอบโดยแพร่หลายอย่างแท้จริง เช่น การให้การรักษาพยาบาล และเงินกู้ที่ถูก ทั้งนี้ก่อนหน้าที่จะเกิดการปฏิวัติ แกนนำพันธมิตรฯ ได้พยายามที่จะล้มล้างรัฐบาลที่เป็นที่นิยมโดยใช้ข้ออ้างหลอกลวงว่าจะกู้รักษาพระมหากษัตริย์ที่เคารพรักของคนไทย จากแผนที่จะทำให้เมืองไทยเป็นสาธารณรัฐ คนที่มาชุมนุมเชื่อว่าการประท้วงได้รับการสนับสนุนเป็นนัยๆ จากเบื้องบน แต่สถานการณ์แบบนี้ถ้าเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆ ในโลก ตำรวจคงจะออกมาปราบปรามหมดไปแล้ว แต่เสียงกระซิบในหมู่ผู้ชุมนุมว่าพันธมิตรฯ มีผู้สนับสนุนระดับสูง ซึ่งอาจรวมถึงพวกนายพล และบุคคลในราชวงศ์ (ซึ่งไม่ใช่ในหลวง) นี่อาจเป็นเรืองไร้สาระ แต่การขัดขวางไม่ให้ถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (lese majeste) มาปกป้อง ทำให้การปฏิเสธข่าวลือเป็นการช่วยเผยแพร่ไปโดยปริยาย ตามประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบันของไทยอย่างเป็นทางการ พระมหากษัตริย์คือบุคคลที่ปกป้องความสงบสุขและประชาธิปไตย ที่คอยมากู้สถานการณ์ในยามคับขัน และจุดนี้ถือเป็นโอกาสที่จะทำเช่นนั้น คำกล่าวของพระมหากษัตริย์ อาจทำให้สถานการณ์ที่ตึงเครียดนั้นคลี่คลายได้ ตอนนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการประนีประนอมแบบเลวร้าย โดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอาจถูกบีบบังคับให้ออก เพือลดความรุนแรง และอาจถูกบังคับให้แบ่งปันอำนาจให้กับพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่สมควรได้ และพรรคนี้ไม่ได้แสดงความเป็นผู้นำแม้แต่น้อย แค่รอให้อำนาจใส่จานมายื่นให้ถึงที่ เหมือนในประเทศบังคลาเทศที่พลเรือนธรรมดาเป็นเกราะคุ้มกันการปกครองโดยทหาร อาจเป็นไปได้ที่จะคาดเดาว่าจะมีการประนีประนอมโดยที่คุณสมัครหลีกทางให้บุคคลอื่นในพรรคร่วมรัฐบาลที่มีความอ่อนโยนกว่า และทางพันธมิตรฯ กองทัพ กลุ่มข้าราชการ ยอมรับการตัดสินของประชาชน แต่พันธมิตรฯ มีโอกาสจะไม่หยุดจนกว่าประเทศไทยจะลงเอยโดยยึดหลักการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยตามความต้องการของพวกเขา ในกรณีนี้พวกเขาอันตรายยิ่งกว่าคณะรัฐประหารปี 2006 เสียอีก อย่างน้อยผู้ก่อรัฐประหารยังสัญญาที่จะคืนประชาธิปไตยให้กับประชาชนโดยให้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และได้ทำจริงหลังถูกบีบจากประชาชน ความเจริญก้าวหน้า ทันสมัย และเปิดกว้างของประเทศไทย ได้ทำให้ประเทศได้อยู่ในอยู่ในสมัยที่ต่างจากยุคมืดซึ่งเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านพม่าซึ่งอ่อนแอจากการควมคุมของทหารอันธพาลที่ชอบความโดดเดี่ยว เพื่อนต่างชาติชองประเทศไทยควรจะส่งสัญญาณให้ชัดกับบุคคลชั้นสูงในเมืองไทยว่าการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นเป็นการเดินถอยหลัง เหมือนที่พม่าได้ประสบคือการนำมาซึ่งการคว่ำบาตร นักท่องเที่ยวต่างชาติก็เช่นกันอีกใม่นานอาจดำเนินการคว่ำบาตรโดยพวกเขาเอง หลังจากเห็นความโกลาหลบนจอโทรทัศน์รวมถึงการปิดสนามบิน

1 ความคิดเห็น:

" Politics and Government in Thailand " กล่าวว่า...

ไม่มีรัฐธรรมนูญที่ไหนหรอก ที่แบ่งการเลือกตั้งออกเป็น 70:30 โดย 70 มาจากการสรรหา และอีก 30 มาจากการเลือกตั้ง แล้วจะเป็นประชาธิปไตยได้ยังไง