วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

การปกครองของสหรัฐอเมริกา







การปกครองของสหรัฐอเมริกาโดยสังเขป

ฝ่ายบริหาร : ประธานาธิบดี (President)


ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คือ คนหนึ่งคนเดียว (ต้องเป็นพลเมืองอเมริกันโดยกำเนิดและอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี และอาศัยอยู่ในสหรัฐ มาไม่น้อยกว่า 14 ปี) ซึ่งเป็นทั้งประมุขของรัฐ และเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมีรองประธานาธิบดีอีกหนึ่งคน ซึ่งมาจากระบบของการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง ตามวิธีการที่กำหนดในกฎหมาย ประธานาธิบดีมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 2 สมัย ไม่ได้ คือ ให้เป็นได้อย่างมากแค่ 2 สมัยเท่านั้น(22nd Amendment, 1951)







อำนาจของประธานาธิบดี
รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่ผู้เดียวในภารกิจหลักเกี่ยวกับการปกป้องรัฐธรรมนูญและบังคับใช้กฎหมายที่ออกโดยสภาคองเกรส สำหรับอำนาจหน้าที่อื่นๆ ของประธานาธิบดีที่สำคัญๆ ตามมาตรา 2 อนุมาตรา 2 ได้แก่ อำนาจด้านนิติบัญญัติ ประธานาธิบดีในฐานะผู้นำหมายเลขหนึ่งของประเทศ ย่อมมีบทบาทสำคัญทางนิติบัญญัติในการริเริ่ม การเสนอนโยบายและกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารกิจการประเทศชาติของรัฐบาลกลางต่อสภาคองเกรส และมีสิทธิออกกฎหมายในรูปอื่นๆ ได้อำนาจตุลาการ ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอขอแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุด และผู้พิพากษาศาลลำดับรองลงมาอื่นๆ ของรัฐบาลกลาง โดยต้องได้รับความยินยอมจากวุฒิสภา อำนาจสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ อำนาจในการให้อภัยโทษทั้งหมด โดยมีเงื่อนไขแก่ผู้ที่ถูกพิพากษาโทษว่าละเมิดกฎหมายของรัฐบาลกลาง ยกเว้นในกรณีที่เป็นการถูกฟ้องขับจากตำแหน่งอำนาจบริหาร และอำนาจด้านกิจการต่างประเทศ ประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ ทั้งยังเป็นผู้ทำสนธิสัญญา ภายใต้ความเห็นชอบของรัฐสภา ตลอดจนเป็นผู้ที่แต่งตั้งทูตเพื่อดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศ แต่งตั้งรัฐมนตรีประจำกระทรวงและหัวหน้าหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่สำคัญๆ ของรัฐบาลกลางอื่นๆ กระทรวง โดยความเห็นชอบของวุฒิสภา นอกจากนั้นยังให้อำนาจประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งรองประธานาธิบดีโดยความเห็นชอบของสภาคองเกรส เมื่อตำแหน่งนั้นว่างลง





การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

เมื่อชาวอเมริกันไปออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี หลายคนเชื่อว่าตนกำลัง เลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง แต่ในทางทฤษฎีมิได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากระบบเลือกตั้งอเมริกันมีคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอันเป็นมรดกตกทอดทางรัฐธรรมนูญนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา การเลือกตั้ง (Election) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นการเลือกตั้งผ่านการลงคะแนนเสียงของ คณะผู้เลือกตั้ง (Electoral college) ซึ่งถูกตั้งขึ้นตามมาตรา 2 อนุมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ เมื่อผู้มีสิทธิออกเสียงในแต่ละรัฐไปลงคะแนนเสียงเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีในวันเลือกตั้ง ซึ่งตรงกับวันอังคารแรกถัดจากวันจันทร์แรกในเดือนพฤศจิกายนของทุกๆ 4 ปี (ในปี ค.ศ. ซึ่งหารด้วยสี่ลงตัว) ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนเสียงสูงสุดในการลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิออกเสียง(popular vote) ภายในแต่ละรัฐ จะได้รับคะแนนเสียงของผู้เลือกตั้ง(electoral vote) ของรัฐนั้นไปทั้งหมด โดยจำนวนผู้ออกเสียงในแต่ละรัฐจะเท่ากับจำนวนรวมกันของวุฒิสมาชิกกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐนั้นๆ มีอยู่ในสภาคองเกรส ส่วนเขตเมืองหลวงดิสทริคออฟโคลัมเบีย ซึ่งไม่มีผู้แทนที่มีสิทธิ์ออกเสียงในสภาคองเกรสเลย จะมีคะแนนเสียงคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี 3 เสียง หลังจากนั้น คณะผู้เลือกตั้งจะร่วมประชุมกันเพื่อเลือกประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ โดยที่จำนวนผู้เลือกตั้งทั้งหมดมี 538 คน ผู้ที่ถือว่าได้รับชัยชนะจึงต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากผู้เลือกตั้งอย่างน้อยที่สุด 270 เสียง ในช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ยังไม่เคยเกิดกรณีที่ผู้เลือกตั้งออกเสียงคัดค้านผู้ที่ชนะคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่ แต่อย่างใดถ้าไม่มีผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใดได้รับคะแนนเสียงข้างมาก หน้าที่เลือกประธานาธิบดีจะตกอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร ส่วนกรณีตำแหน่งรองประธานาธิบดีนั้น วุฒิสภาจะต้องทำหน้าที่ในการตัดสินใจเลือก ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีจะทำพิธีสาบานตน เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคมของปีถัดไปจากปีที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี


































































ไม่มีความคิดเห็น: