วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

4 ข้อสังเกตเชิงทฤษฎีต่อขบวนการประชาชนในวาระ 15 ปี พฤษภาประชาธรรม[1]

พฤษภาประชาธรรม 2535 คือ การลุกขึ้นสู้ของขบวนการประชาชนเพื่อล้มเผด็จการทหารสุจินดาที่ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลชาติชายในปี 2534 และจบลงด้วยการปราบปรามอันรุนแรงของรัฐไทยที่กระทำต่อประชาชน ซึ่งนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางการเมืองและวิธีคิดโดยทั่วไปของสังคมไทยรวมทั้งภาคประชาชนไทยอย่างมากมาย ชัยชนะจากการต่อสู้ครั้งนั้นของประชาชนนำมาซึ่งกระแสการปฏิรูปการเมืองจนนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ในที่สุด เราอาจกล่าวได้ว่าผลของการต่อสู้อย่างดุเดือดของขบวนการประชาชนในปี 2535 ก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับ ?ประชาชน? นี้ได้กลายเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด และมีมาตราที่กำหนดโดยประชาชนมากที่สุดนับตั้งแต่เคยมีรัฐธรรมนูญมา และต่อมารัฐธรรมนูญฉบับนี้เองได้กลายเป็นเงื่อนไขเชิงกติกาทางการเมืองให้รัฐบาลของไทยรักไทยสามารถขึ้นมามีอำนาจได้นับตั้งแต่ปี 2544 จนกระทั่งต้องล้มไปอันเนื่องมาจากเกิดการรัฐประหารของทหารที่เรียกกันสั้นๆว่า คปค. ในเดือนกันยายนปี 2549 และนำไปสู่การตั้งรัฐบาลเผด็จการทหารของสุรยุทธ์ จุลานนท์ในเวลาต่อมา

นับเป็นเวลาอย่างน้อยกว่า 15 ปีแล้วที่สิ่งที่พวกเราเรียกแบบหลวมๆว่า ?ขบวนการประชาชน? หรือ ?การเมืองภาคประชาชน? ได้มีบทบาทอย่างสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเหตุการณ์สำคัญๆ มาจนวันนี้เราอาจกล่าวได้ว่า การรัฐประหารในวันที่ 19 กันยา จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไร้การสนับสนุนอย่างแข็งขันของขบวนการประชาชนจำนวนหนึ่ง นี่เป็นสิ่งที่สะท้อนว่า แม้บทบาทของขบวนการประชาชนจะมีสูงขึ้นอย่างไรก็ตามในสังคมการเมืองไทย แต่การที่รัฐประหาร 19 กันยา สามารถเกิดขึ้นได้ก็สะท้อนให้เราเห็นความอ่อนแอของการเมืองภาคประชาชนอย่างไม่อาจปฏิเสธได้

4 ความคิดเห็น:

" Politics and Government in Thailand " กล่าวว่า...

ดีมากเลยค่า

น่าสนใจมากๆเลย

น่าติดตามค่ะ

" Politics and Government in Thailand " กล่าวว่า...

ดีมากเลยค่า

น่าสนใจมากๆเลย

น่าติดตามค่ะ

" Politics and Government in Thailand " กล่าวว่า...

น่าสนใจมากค่ะ

มองการเมืองไทยคล้ายๆอดีตนี้

ทำให้ประชาชนมีความใส่ใจมากขึ้น

Global warming กล่าวว่า...

ok i see