ไทย-กัมพูชา'ประชุมชื่นมื่น ตกลงกัน5ข้อให้ถอนทหาร การประชุมทวิภาคีเกี่ยวกับปัญหาข้อพิพาทระหว่าง ไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ของรัฐมนตรีต่างประเทศไทยและกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ที่โรงแรมดุสิตธานีหัวหิน อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ได้เริ่มขึ้นแล้วเมื่อเช้าวันที่ 19 ส.ค. และได้ข้อสรุปไปในแนวทางที่ดีถึงการถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาท
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.เพชรบุรีว่า เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 19 ส.ค. ที่ห้องเดอะรอยัลดุสิตฮอลล์ โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี นายเตช บุนนาค รมว.ต่างประเทศ พร้อมคณะ เปิดประชุมเจรจา กับคณะของนายฮอร์ นัม ฮอง รมว.ต่างประเทศกัมพูชา ว่าด้วยปัญหาชายแดนปราสาทพระวิหารครั้งที่ 2 ซึ่งต่อเนื่องจากการประชุมเจรจาที่ จ.เสียมราฐ กัมพูชา เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ทั้งนี้ คณะผู้แทนของทั้ง 2 ฝ่ายได้จับมือทักทายกัน ก่อนเข้าห้องประชุมด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การประชุมเจรจาครั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศอนุญาตให้เฉพาะสื่อมวลชน ที่ลงทะเบียนไว้กับกองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ เข้าทำข่าวได้เท่านั้น และจำกัดพื้นที่ให้สื่อมวลชนอยู่ภายในห้องที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ ส่วนการรักษาความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ คอยดูรักษาความปลอดภัย และตรวจวัตถุระเบิดคนเข้าและออกอย่างเข้มงวด รวมทั้งบริเวณโดยรอบโรงแรม มีตำรวจประจำอยู่เป็นจุดๆ โดยเฉพาะบริเวณด้านข้างโรงแรม ที่ติดกับบ้านพักตากอากาศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น มีตำรวจในเครื่องแบบประจำอยู่ 1 นาย คอยห้ามไม่ให้คนไปถ่าย ภาพตัวบ้าน ของ พ.ต.ท.ทักษิณที่กำลังปรับปรุงอยู่ นอกจากนี้ ไม่ปรากฏกลุ่มประชาชน มาชุมนุมประท้วงแต่อย่างใด
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า รูปแบบประชุมเจรจาครั้งนี้ จะเป็นแบบเต็มคณะทั้ง 2 ฝ่าย จากนั้นมอบหมายให้คณะทำงานกลุ่มย่อยไปหารือกันก่อนที่จะกลับมาประชุมเต็มคณะอีกครั้งในช่วงบ่าย กระทั่งเวลา 16.00 น. รมว.ต่างประเทศของไทยจะนำนายฮอร์ นัม ฮง เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้ หวังว่าจะมีข่าวดีจากการประชุมครั้งนี้ สำหรับประเด็นในการหารือ เริ่มต้นด้วยกรณีพื้นที่ชายแดนรอบปราสาทพระวิหารเป็นเรื่องหลัก ที่ต่อเนื่อง จากการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (จีบีซี) ไทย-กัมพูชา และการเจรจาระหว่าง รมว.ต่างประเทศเมื่อครั้งที่แล้ว รวมทั้งจะหารือเกี่ยวกับการทำงาน ของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี)
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าการทำงานของเจบีซี ยังไม่มีความชัดเจน จะส่งผลกระทบต่อการที่กัมพูชา จะต้องส่งเอกสารแผนที่และพื้นที่กันชนให้กับคณะกรรม การมรดกโลกพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ ในเดือน ก.พ.2552 นายธฤต ตอบว่า อย่าไปมองไกลและอย่าไปมองในแง่ลบ ทุกอย่างมีทั้งแง่บวกและลบ อย่างไรก็ตาม ในการประชุมนอกรอบของฝ่ายไทยเมื่อค่ำวันที่ 18 ส.ค. ไม่ได้มีการตั้งธง เพราะจะทำให้การทำงานได้ยากเกินไป แต่อยากให้สถานการณ์ ขับเคลื่อนไปในทางบวก การหารือเรื่องเขตแดนไม่ว่าระหว่างประเทศใดๆ ถือเป็นเรื่องที่ค่อนเรื่องซับซัอน ดังนั้น แม้จะมีความคืบหน้าไม่มาก แต่ต้องใช้ความอดทน ไม่อยากให้ปัญหาเดียวกลายเป็นปัญหาระหว่าง 2 ประเทศ ต้องใช้เวลาและความใจเย็น และมองภาพรวมของความสัมพันธ์เป็นหลัก การยุติการเผชิญหน้าเป็นความคาดหวังของทุกฝ่าย เพราะอยากให้เหตุการณ์ กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการประชุม รมว.ต่างประเทศ ไทย-กัมพูชาจากโรงแรมดุสิตธานี หัวหิน ว่า หลังจากเปิดการประชุมเจรจาเต็มคณะของทั้ง 2 ฝ่ายในช่วงเช้า ได้มีการ แยกประชุมเป็นกลุ่มย่อย กระทั่งเวลาประมาณ 16.00 น. มีการพักประชุมชั่วคราว เนื่องจากนายเตช บุนนาค รมว. ต่างประเทศ ต้องนำนายฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ต่างประเทศกัมพูชา เดินทางไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้การประชุมตลอดทั้งวัน บรรยากาศเป็นไปด้วยดี โดยเฉพาะข้อขัดแย้งในการปรับกำลังทหาร ในพื้นที่วัดแก้วสิกขาคีรีสวราและสามารถปรับกำลังทั้ง 2 ฝ่ายลงได้ ทำให้การเจรจาสามารถก้าวต่อไปได้ ส่วนปัญหาชุมชนชาวกัมพูชา ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ยังไม่สามารถเจรจาหาข้อยุติได้ ซึ่งจะต้องมีการเจรจาต่อไปในการประชุมครั้งหน้าในเดือน ก.ย.ที่กัมพูชา อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมกลุ่มย่อยยังเห็นพ้องว่ากระบวนการในคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ที่ดูแลการปักปันเขตแดน โดยเฉพาะชายแดนปราสาทพระวิหารควรจะเดินหน้าได้แล้ว
ขณะเดียวกันเมื่อเวลา 15.30 น.นายสมาน สีงาม แกนนำกลุ่มธรรมยาตราที่เคลื่อนไหวคัดค้าน กรณีการนำปราสาทพระวิหาร ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมพวกจำนวน 10 คน ได้มายืนอ่านคำแถลงการณ์ประท้วง การประชุม รมว.ต่างประเทศ ไทย-กัมพูชา อยู่บริเวณปากทาง เข้าโรงแรมดุสิตธานี ริมถนนเพชรเกษม เมื่ออ่านเสร็จได้เดินทางกลับทันที โดยไม่ได้ก่อความวุ่นวายใดๆ
สำนักข่าวต่างประเทศทั้งเอพีและเอเอฟพี รายงานถึงการพบกันระหว่างนายเตช บุนนาค รมว.ต่างประเทศของไทย กับนายฮอร์ นัมฮง รมว.ต่างประเทศกัมพูชา เพื่อเจรจาข้อตกลงอย่างเป็นทางการที่ อ.หัวหิน กรณีพื้นที่พิพาทปราสาทพระวิหาร ซึ่งยืดเยื้อเป็นเวลาเดือนเศษ นับแต่คณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก ประกาศให้ปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกของกัมพูชา ยกเว้นพื้นที่โดยรอบ ซึ่งการเจรจาเบื้องต้นยังไม่ได้ข้อสรุป ทั้งนี้ นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกประจำกระทรวงการต่างประเทศของไทย เผยว่า สถานการณ์จนถึงขณะนี้ถือว่า ดีขึ้นมากทีเดียว ระหว่างทหารทั้งสองฝ่ายบริเวณชายแดน ทำให้ความตึงเครียด เริ่มผ่อนคลายลงและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกอย่างจะคืนกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้ นายฮัง โสธ ผู้อำนวยการดูแลปราสาทพระวิหารเผยว่า ทหารทั้งสองฝ่ายถอนกำลังส่วนใหญ่ออกจากพื้นที่ คงเหลือไว้ฝ่ายละ 10 นาย บริเวณรอบปราสาทพระวิหาร ส่วนนายฮอร์ ก็มองในทางที่ดี เพราะรัฐบาลกัมพูชาเอง ก็ปรารถนาจะแก้ปัญหานี้ร่วมกับไทยโดยสันติและด้วยมิตรไมตรี เพราะเราต่างก็แบ่งปันผลประโยชน์ ทั้งด้านการค้าและทางเศรษฐกิจด้วยกันมาก
ต่อมาเวลา 18.20 น. ภายหลังกลับจากนำนายฮอร์ นัม ฮง เข้าเฝ้าฯ นายเตชได้เข้าประชุมเจรจาเต็มคณะกับนายฮอร์ นัม ฮง อีกรอบ กระทั่งเวลา 20.00 น. นายเตชและนายฮอร์ นัม ฮง ได้ร่วมแถลงผลการประชุม โดยนายเตชกล่าวว่า ทั้ง 2 ฝ่ายพอใจกับความสำเร็จของการเจรจายังผลให้ความตึงเครียดลดลง ทั้งนี้ มีผลการประชุมดังนี้
1.ทั้ง 2 ฝ่ายยินดีที่มีการปรับกำลังขั้นแรกของแต่ละฝ่ายออกจากพื้นที่วัดแก้วสิกขาคีรีสวารา พื้นที่รอบวัดและปราสาท พระวิหาร และตกลงที่จะจัดการประชุมครั้งที่ 2 ระหว่าง พล.อ.เนียง พาด รมช.กลาโหมกัมพูชา หัวหน้าชุดประสาน งานชั่วคราวของฝ่ายกัมพูชากับ พล.ท.สุจิตร สิทธิประภา แม่ทัพภาคที่ 2 ประธานคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคฝ่ายไทยเพื่อหารือการปรับกำลังขั้นที่ 2 ในวันที่ 29 ส.ค. ที่ จ.เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา
2.ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงที่จะเสนอต่อรัฐบาลของตน ให้ความเห็นชอบจัดประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ครั้งต่อไป ในช่วงต้นเดือน ต.ค.นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องภายใต้ข้อกำหนดอำนาจหน้าที่และแผนแม่บทของเจบีซี (เขาสัตตะโสม-หลักเขตแดนที่ 1) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญกฎหมายไทย-กัมพูชา
3.จะจัดประชุมระหว่าง รมว.ต่างประเทศไทย-กัมพูชาอีกครั้งภายหลังจากที่มีการประชุมเจบีซี
4.ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงที่จะเสนอต่อรัฐบาลของตนเอง ให้จัดทำข้อตกลงชั่วคราวเพื่อใช้ในระหว่างที่ดำเนินการของเจบีซียังไม่แล้วเสร็จ สำหรับไทยจะต้องจัดทำข้อตกลงดังกล่าว ตามข้อกำหนดตามขั้นตอนและข้อกำหนด ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในของไทย และ 5.ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงที่จะพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับกลุ่มปราสาทตาเมือนธมในการประชุม รมว.ต่างประเทศในครั้งต่อไป
นายฮอร์ นัมฮง กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง โดยเฉพาะได้มีการถอนทหารออกจากเขตดังกล่าวเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยเจตนาดีของรัฐบาลทั้ง 2 ฝ่ายเราจะแก้ปัญหาโดยสันติวิธีสันติภาพ และตามกฎหมาย กัมพูชากับไทยไม่ใช่ประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น แต่มีอารยธรรม วัฒนธรรม ศาสนา และมีพระมหากษัตริย์คล้ายกัน เราอยู่ใกล้กันมาก อยู่ในครอบครัวอาเซียนด้วยกัน จึงไม่มีสาเหตุใดที่จะไม่แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ขณะนี้ก้าวไปข้างหน้าแล้ว จะไม่กลับหลังไปอีกและเราต้องพยายามอดทน เพราะเห็นพ้องกันว่าในทศวรรษที่ 21 เลยเวลาที่จะเผชิญหน้ากันด้วยการทหาร ถือเป็นเรื่องที่ดีที่สุดที่ประชาชนแก้ปัญหาไปในทางบวก
นายฮอร์กล่าวอีกว่า กัมพูชาจะเป็นฝ่ายถอนทหาร หมดออกจากปราสาทพระวิหารเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายเริ่มถอน ทหารออกจากพื้นที่ดังกล่าว แต่จะยังมีกำลังตำรวจและสารวัตรทหาร เอาไว้รอบปราสาท ส่วนการถอนคำร้องของกัมพูชา เกี่ยวกับข้อพิพาทดังกล่าวออกจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) นั้น จะใช้ เวลาพิจารณาสั้นที่สุด เพราะเราได้เจรจามา 2 ครั้งแล้ว ซึ่งคาดจะจัดทำได้เร็วๆ นี้ และเป็นความเชื่อมั่นของตน แต่ยังไม่ได้แจ้งต่อรัฐบาลกัมพูชา
ต่อข้อถามว่าถ้ากัมพูชาไม่สามารถจัดส่งเอกสารแผนที่พื้นที่กันชน แก่คณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก ภายในเดือน ก.พ. 2552 จากการที่ไทยและกัมพูชายังไม่สามารถปักปันเขตแดนกันได้ จะส่งผลกระทบต่อการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกหรือไม่ นายฮอร์ ตอบว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารนั้น ฝ่ายกัมพูชาได้จัดทำเอกสาร แผนการบริหารพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร เพื่อยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลก และก่อนจะยื่นเอกสารดังกล่าว จะมีการประชุมคณะกรรมการ ประสานงานร่วมสากล (ไอซีซี) อีกครั้ง ที่จะมีขึ้นช่วงก่อนเดือน ก.พ. 2552
เมื่อถามว่ากัมพูชาจะเปิดด่านขึ้นปราสาทพระวิหารได้เมื่อใด และจะเริ่มฟื้นการเจรจาเจบีซีได้เมื่อใด นายฮอร์ นัมฮง ตอบว่า ยังมีทหารอยู่รอบๆปราสาทพระวิหารแค่ 30 คน แต่เรายังไม่ได้แก้ไขได้โดยสงบ และถ้าถอนทหารหมดแล้วพิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์เป็นไปโดยสงบ เราก็จะพิจารณาเปิดด่านทางขึ้นปราสาทพระวิหาร
อีกด้านเที่ยงวันเดียวกัน ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์ถึงการปรับกำลังทหารไทย ในพื้นที่เขาพระวิหารว่า แนวทางที่ทั้งสองประเทศเห็นพ้องกันคือ ลดความตึงเครียดที่จะนำไปสู่การกระทบกระทั่งกัน โดยใช้เวทีทวิภาคีพูดกัน ปรับกำลังทหารให้เหลือน้อยที่สุด หรือไม่มี ก็แล้วแต่ ตามที่พูดคุยกันที่เสียมราฐ กัมพูชา ซึ่งมีมติให้รัฐมนตรีทั้ง 2 ประเทศ นำไปเสนอคณะรัฐมนตรีทั้ง 2 ประเทศ ให้พิจารณาคือการลดกำลังส่วนแรกลง เพื่อลดการเผชิญหน้าที่ใกล้กันมาก คือบริเวณวัด ฝ่ายกัมพูชาปรับกำลังไปแล้วหนึ่งครั้ง บริเวณวัดเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การประชุมครั้งนี้ จะพูดคุยกันอีกในประเด็นนี้ หากกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งสองประเทศตกลงกันอย่างไร คงจะนำไปให้รัฐบาลของสองประเทศพิจารณาอีกครั้ง จากนั้นจึงจะมีการสั่งการ ไม่ทราบว่า การประชุมจะลดเพิ่มกำลังอย่างไร
“ความคิดผมหากมีการลดกำลังทหาร ที่มีการเผชิญที่อยู่บนเขาหลายร้อยคน ก็น่าจะเกิดผลดีต่อสภาพทั่วไป สถานการณ์ขณะนี้ถือว่าดี ความสัมพันธ์ของทหาร ที่อยู่ทั้งสองฝ่าย ไม่ได้เผชิญหน้ากันในลักษณะตึงเครียด คงเป็นการแสดงสัญลักษณ์ถึงการรักษาอธิปไตยเหนือดินแดน ทั้งนี้ไม่มีการตึงเครียดในการใช้กำลังซึ่งกันและกัน” พล.อ.อนุพงษ์กล่าว
เมื่อถามว่า การปรับกำลังในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร หลายฝ่ายกังวลไทยจะเสียเปรียบหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า ไม่ต้องห่วง การปรับกำลังพลจะมีความเท่าเทียมกัน ไม่เป็นที่เสียเปรียบได้เปรียบและไม่ให้เกิดปัญหาซึ่งกันและกัน ขวัญกำลังใจของทหารดีทุกพื้นที่ เมื่อถามว่า เบี้ยเลี้ยงทหารพรานที่มีอัตรา 21 บาทต่อวัน จะมีการอนุมัติเพิ่มเป็นกรณีพิเศษหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า คงยังไม่อนุมัติ ปัญหานี้เกิดจากสื่อวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทหารพรานไทยกินอยู่ไม่ดีเท่าที่ควร จึงอยากเรียนว่าเบี้ยเลี้ยงที่เขาได้ รับนอกเหนือเงินเดือน ก็จะมี 2 ส่วน คือ เบี้ยเลี้ยงที่ใช้ประกอบเลี้ยง แบ่งเป็น 15 บาท ค่าเสบียง 6 บาท ค่าเบี้ยเลี้ยงเพิ่มเติม รวม 21 บาทเป็นค่าประกอบเลี้ยงทุกวัน ส่วนอีก 10 บาทให้ไว้ติดตัวไว้ซื้ออาหารเพิ่มเติม
“ในพื้นที่เขาพระวิหารมีทหารพราน 6-7 กองร้อย ภาคใต้มีประมาณ 90 กองร้อย อยากเรียนให้ทราบว่าคนที่ทำงานเพื่อชาติ ทหารพรานกินอยู่วันละ 21 บาท แต่ก็กินดีอยู่ดีได้ขณะนี้ เมื่อได้เปรียบเทียบให้นายกรัฐมนตรี ฟังกับผู้ที่อยู่ในราชทัณฑ์ที่รับประทานวันละ 40 บาท บางแห่ง 60 บาท ซึ่งมากกว่าทหารพรานมาก ท่านก็บอกว่าจะแก้ไขให้ แต่คงมีขั้นตอนอีกเยอะ เกี่ยวกับกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณคงไม่ใช่ว่าจะอนุมัติจ่ายได้ แต่จะเรียนข้อมูลให้ทราบ” พล.อ.อนุพงษ์กล่าว
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเพิ่มเติม เมื่อค่ำวันเดียวกันว่า หลังการหารือปัญหาเขาพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี กัมพูชาได้ถอนคำฟ้องที่ยื่นต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ กรณีข้อพิพาทเขาพระวิหาร ระหว่างไทย-กัมพูชาแล้ว โดยนายฮอร์ นัม ฮง ยืนยันว่า การแก้ปัญหาของทั้ง 2 ประเทศ ควรต้องดำเนินไปตามกฎหมาย และคำนึงความสัมพันธ์อันดีเป็นหลัก ส่วนกำหนดการเจรจาเพื่อถอนกำลังทหารออกจากชายแดนไทย-กัมพูชา จะมีขึ้นอีกครั้งในวันที่ 29 ส.ค. โดยมีนายทหารระดับสูงของทั้ง 2 ฝ่าย เป็นตัวแทนเจรจา ขณะที่คณะกรรมการพิจารณาแบ่งเขตแดนมีกำหนดประชุมกันอีกครั้ง เพื่อติดตามความคืบหน้าในเดือน ต.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.เพชรบุรีว่า เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 19 ส.ค. ที่ห้องเดอะรอยัลดุสิตฮอลล์ โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี นายเตช บุนนาค รมว.ต่างประเทศ พร้อมคณะ เปิดประชุมเจรจา กับคณะของนายฮอร์ นัม ฮอง รมว.ต่างประเทศกัมพูชา ว่าด้วยปัญหาชายแดนปราสาทพระวิหารครั้งที่ 2 ซึ่งต่อเนื่องจากการประชุมเจรจาที่ จ.เสียมราฐ กัมพูชา เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ทั้งนี้ คณะผู้แทนของทั้ง 2 ฝ่ายได้จับมือทักทายกัน ก่อนเข้าห้องประชุมด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การประชุมเจรจาครั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศอนุญาตให้เฉพาะสื่อมวลชน ที่ลงทะเบียนไว้กับกองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ เข้าทำข่าวได้เท่านั้น และจำกัดพื้นที่ให้สื่อมวลชนอยู่ภายในห้องที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ ส่วนการรักษาความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ คอยดูรักษาความปลอดภัย และตรวจวัตถุระเบิดคนเข้าและออกอย่างเข้มงวด รวมทั้งบริเวณโดยรอบโรงแรม มีตำรวจประจำอยู่เป็นจุดๆ โดยเฉพาะบริเวณด้านข้างโรงแรม ที่ติดกับบ้านพักตากอากาศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น มีตำรวจในเครื่องแบบประจำอยู่ 1 นาย คอยห้ามไม่ให้คนไปถ่าย ภาพตัวบ้าน ของ พ.ต.ท.ทักษิณที่กำลังปรับปรุงอยู่ นอกจากนี้ ไม่ปรากฏกลุ่มประชาชน มาชุมนุมประท้วงแต่อย่างใด
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า รูปแบบประชุมเจรจาครั้งนี้ จะเป็นแบบเต็มคณะทั้ง 2 ฝ่าย จากนั้นมอบหมายให้คณะทำงานกลุ่มย่อยไปหารือกันก่อนที่จะกลับมาประชุมเต็มคณะอีกครั้งในช่วงบ่าย กระทั่งเวลา 16.00 น. รมว.ต่างประเทศของไทยจะนำนายฮอร์ นัม ฮง เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้ หวังว่าจะมีข่าวดีจากการประชุมครั้งนี้ สำหรับประเด็นในการหารือ เริ่มต้นด้วยกรณีพื้นที่ชายแดนรอบปราสาทพระวิหารเป็นเรื่องหลัก ที่ต่อเนื่อง จากการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (จีบีซี) ไทย-กัมพูชา และการเจรจาระหว่าง รมว.ต่างประเทศเมื่อครั้งที่แล้ว รวมทั้งจะหารือเกี่ยวกับการทำงาน ของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี)
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าการทำงานของเจบีซี ยังไม่มีความชัดเจน จะส่งผลกระทบต่อการที่กัมพูชา จะต้องส่งเอกสารแผนที่และพื้นที่กันชนให้กับคณะกรรม การมรดกโลกพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ ในเดือน ก.พ.2552 นายธฤต ตอบว่า อย่าไปมองไกลและอย่าไปมองในแง่ลบ ทุกอย่างมีทั้งแง่บวกและลบ อย่างไรก็ตาม ในการประชุมนอกรอบของฝ่ายไทยเมื่อค่ำวันที่ 18 ส.ค. ไม่ได้มีการตั้งธง เพราะจะทำให้การทำงานได้ยากเกินไป แต่อยากให้สถานการณ์ ขับเคลื่อนไปในทางบวก การหารือเรื่องเขตแดนไม่ว่าระหว่างประเทศใดๆ ถือเป็นเรื่องที่ค่อนเรื่องซับซัอน ดังนั้น แม้จะมีความคืบหน้าไม่มาก แต่ต้องใช้ความอดทน ไม่อยากให้ปัญหาเดียวกลายเป็นปัญหาระหว่าง 2 ประเทศ ต้องใช้เวลาและความใจเย็น และมองภาพรวมของความสัมพันธ์เป็นหลัก การยุติการเผชิญหน้าเป็นความคาดหวังของทุกฝ่าย เพราะอยากให้เหตุการณ์ กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการประชุม รมว.ต่างประเทศ ไทย-กัมพูชาจากโรงแรมดุสิตธานี หัวหิน ว่า หลังจากเปิดการประชุมเจรจาเต็มคณะของทั้ง 2 ฝ่ายในช่วงเช้า ได้มีการ แยกประชุมเป็นกลุ่มย่อย กระทั่งเวลาประมาณ 16.00 น. มีการพักประชุมชั่วคราว เนื่องจากนายเตช บุนนาค รมว. ต่างประเทศ ต้องนำนายฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ต่างประเทศกัมพูชา เดินทางไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้การประชุมตลอดทั้งวัน บรรยากาศเป็นไปด้วยดี โดยเฉพาะข้อขัดแย้งในการปรับกำลังทหาร ในพื้นที่วัดแก้วสิกขาคีรีสวราและสามารถปรับกำลังทั้ง 2 ฝ่ายลงได้ ทำให้การเจรจาสามารถก้าวต่อไปได้ ส่วนปัญหาชุมชนชาวกัมพูชา ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ยังไม่สามารถเจรจาหาข้อยุติได้ ซึ่งจะต้องมีการเจรจาต่อไปในการประชุมครั้งหน้าในเดือน ก.ย.ที่กัมพูชา อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมกลุ่มย่อยยังเห็นพ้องว่ากระบวนการในคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ที่ดูแลการปักปันเขตแดน โดยเฉพาะชายแดนปราสาทพระวิหารควรจะเดินหน้าได้แล้ว
ขณะเดียวกันเมื่อเวลา 15.30 น.นายสมาน สีงาม แกนนำกลุ่มธรรมยาตราที่เคลื่อนไหวคัดค้าน กรณีการนำปราสาทพระวิหาร ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมพวกจำนวน 10 คน ได้มายืนอ่านคำแถลงการณ์ประท้วง การประชุม รมว.ต่างประเทศ ไทย-กัมพูชา อยู่บริเวณปากทาง เข้าโรงแรมดุสิตธานี ริมถนนเพชรเกษม เมื่ออ่านเสร็จได้เดินทางกลับทันที โดยไม่ได้ก่อความวุ่นวายใดๆ
สำนักข่าวต่างประเทศทั้งเอพีและเอเอฟพี รายงานถึงการพบกันระหว่างนายเตช บุนนาค รมว.ต่างประเทศของไทย กับนายฮอร์ นัมฮง รมว.ต่างประเทศกัมพูชา เพื่อเจรจาข้อตกลงอย่างเป็นทางการที่ อ.หัวหิน กรณีพื้นที่พิพาทปราสาทพระวิหาร ซึ่งยืดเยื้อเป็นเวลาเดือนเศษ นับแต่คณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก ประกาศให้ปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกของกัมพูชา ยกเว้นพื้นที่โดยรอบ ซึ่งการเจรจาเบื้องต้นยังไม่ได้ข้อสรุป ทั้งนี้ นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกประจำกระทรวงการต่างประเทศของไทย เผยว่า สถานการณ์จนถึงขณะนี้ถือว่า ดีขึ้นมากทีเดียว ระหว่างทหารทั้งสองฝ่ายบริเวณชายแดน ทำให้ความตึงเครียด เริ่มผ่อนคลายลงและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกอย่างจะคืนกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้ นายฮัง โสธ ผู้อำนวยการดูแลปราสาทพระวิหารเผยว่า ทหารทั้งสองฝ่ายถอนกำลังส่วนใหญ่ออกจากพื้นที่ คงเหลือไว้ฝ่ายละ 10 นาย บริเวณรอบปราสาทพระวิหาร ส่วนนายฮอร์ ก็มองในทางที่ดี เพราะรัฐบาลกัมพูชาเอง ก็ปรารถนาจะแก้ปัญหานี้ร่วมกับไทยโดยสันติและด้วยมิตรไมตรี เพราะเราต่างก็แบ่งปันผลประโยชน์ ทั้งด้านการค้าและทางเศรษฐกิจด้วยกันมาก
ต่อมาเวลา 18.20 น. ภายหลังกลับจากนำนายฮอร์ นัม ฮง เข้าเฝ้าฯ นายเตชได้เข้าประชุมเจรจาเต็มคณะกับนายฮอร์ นัม ฮง อีกรอบ กระทั่งเวลา 20.00 น. นายเตชและนายฮอร์ นัม ฮง ได้ร่วมแถลงผลการประชุม โดยนายเตชกล่าวว่า ทั้ง 2 ฝ่ายพอใจกับความสำเร็จของการเจรจายังผลให้ความตึงเครียดลดลง ทั้งนี้ มีผลการประชุมดังนี้
1.ทั้ง 2 ฝ่ายยินดีที่มีการปรับกำลังขั้นแรกของแต่ละฝ่ายออกจากพื้นที่วัดแก้วสิกขาคีรีสวารา พื้นที่รอบวัดและปราสาท พระวิหาร และตกลงที่จะจัดการประชุมครั้งที่ 2 ระหว่าง พล.อ.เนียง พาด รมช.กลาโหมกัมพูชา หัวหน้าชุดประสาน งานชั่วคราวของฝ่ายกัมพูชากับ พล.ท.สุจิตร สิทธิประภา แม่ทัพภาคที่ 2 ประธานคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคฝ่ายไทยเพื่อหารือการปรับกำลังขั้นที่ 2 ในวันที่ 29 ส.ค. ที่ จ.เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา
2.ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงที่จะเสนอต่อรัฐบาลของตน ให้ความเห็นชอบจัดประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ครั้งต่อไป ในช่วงต้นเดือน ต.ค.นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องภายใต้ข้อกำหนดอำนาจหน้าที่และแผนแม่บทของเจบีซี (เขาสัตตะโสม-หลักเขตแดนที่ 1) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญกฎหมายไทย-กัมพูชา
3.จะจัดประชุมระหว่าง รมว.ต่างประเทศไทย-กัมพูชาอีกครั้งภายหลังจากที่มีการประชุมเจบีซี
4.ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงที่จะเสนอต่อรัฐบาลของตนเอง ให้จัดทำข้อตกลงชั่วคราวเพื่อใช้ในระหว่างที่ดำเนินการของเจบีซียังไม่แล้วเสร็จ สำหรับไทยจะต้องจัดทำข้อตกลงดังกล่าว ตามข้อกำหนดตามขั้นตอนและข้อกำหนด ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในของไทย และ 5.ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงที่จะพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับกลุ่มปราสาทตาเมือนธมในการประชุม รมว.ต่างประเทศในครั้งต่อไป
นายฮอร์ นัมฮง กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง โดยเฉพาะได้มีการถอนทหารออกจากเขตดังกล่าวเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยเจตนาดีของรัฐบาลทั้ง 2 ฝ่ายเราจะแก้ปัญหาโดยสันติวิธีสันติภาพ และตามกฎหมาย กัมพูชากับไทยไม่ใช่ประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น แต่มีอารยธรรม วัฒนธรรม ศาสนา และมีพระมหากษัตริย์คล้ายกัน เราอยู่ใกล้กันมาก อยู่ในครอบครัวอาเซียนด้วยกัน จึงไม่มีสาเหตุใดที่จะไม่แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ขณะนี้ก้าวไปข้างหน้าแล้ว จะไม่กลับหลังไปอีกและเราต้องพยายามอดทน เพราะเห็นพ้องกันว่าในทศวรรษที่ 21 เลยเวลาที่จะเผชิญหน้ากันด้วยการทหาร ถือเป็นเรื่องที่ดีที่สุดที่ประชาชนแก้ปัญหาไปในทางบวก
นายฮอร์กล่าวอีกว่า กัมพูชาจะเป็นฝ่ายถอนทหาร หมดออกจากปราสาทพระวิหารเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายเริ่มถอน ทหารออกจากพื้นที่ดังกล่าว แต่จะยังมีกำลังตำรวจและสารวัตรทหาร เอาไว้รอบปราสาท ส่วนการถอนคำร้องของกัมพูชา เกี่ยวกับข้อพิพาทดังกล่าวออกจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) นั้น จะใช้ เวลาพิจารณาสั้นที่สุด เพราะเราได้เจรจามา 2 ครั้งแล้ว ซึ่งคาดจะจัดทำได้เร็วๆ นี้ และเป็นความเชื่อมั่นของตน แต่ยังไม่ได้แจ้งต่อรัฐบาลกัมพูชา
ต่อข้อถามว่าถ้ากัมพูชาไม่สามารถจัดส่งเอกสารแผนที่พื้นที่กันชน แก่คณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก ภายในเดือน ก.พ. 2552 จากการที่ไทยและกัมพูชายังไม่สามารถปักปันเขตแดนกันได้ จะส่งผลกระทบต่อการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกหรือไม่ นายฮอร์ ตอบว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารนั้น ฝ่ายกัมพูชาได้จัดทำเอกสาร แผนการบริหารพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร เพื่อยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลก และก่อนจะยื่นเอกสารดังกล่าว จะมีการประชุมคณะกรรมการ ประสานงานร่วมสากล (ไอซีซี) อีกครั้ง ที่จะมีขึ้นช่วงก่อนเดือน ก.พ. 2552
เมื่อถามว่ากัมพูชาจะเปิดด่านขึ้นปราสาทพระวิหารได้เมื่อใด และจะเริ่มฟื้นการเจรจาเจบีซีได้เมื่อใด นายฮอร์ นัมฮง ตอบว่า ยังมีทหารอยู่รอบๆปราสาทพระวิหารแค่ 30 คน แต่เรายังไม่ได้แก้ไขได้โดยสงบ และถ้าถอนทหารหมดแล้วพิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์เป็นไปโดยสงบ เราก็จะพิจารณาเปิดด่านทางขึ้นปราสาทพระวิหาร
อีกด้านเที่ยงวันเดียวกัน ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์ถึงการปรับกำลังทหารไทย ในพื้นที่เขาพระวิหารว่า แนวทางที่ทั้งสองประเทศเห็นพ้องกันคือ ลดความตึงเครียดที่จะนำไปสู่การกระทบกระทั่งกัน โดยใช้เวทีทวิภาคีพูดกัน ปรับกำลังทหารให้เหลือน้อยที่สุด หรือไม่มี ก็แล้วแต่ ตามที่พูดคุยกันที่เสียมราฐ กัมพูชา ซึ่งมีมติให้รัฐมนตรีทั้ง 2 ประเทศ นำไปเสนอคณะรัฐมนตรีทั้ง 2 ประเทศ ให้พิจารณาคือการลดกำลังส่วนแรกลง เพื่อลดการเผชิญหน้าที่ใกล้กันมาก คือบริเวณวัด ฝ่ายกัมพูชาปรับกำลังไปแล้วหนึ่งครั้ง บริเวณวัดเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การประชุมครั้งนี้ จะพูดคุยกันอีกในประเด็นนี้ หากกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งสองประเทศตกลงกันอย่างไร คงจะนำไปให้รัฐบาลของสองประเทศพิจารณาอีกครั้ง จากนั้นจึงจะมีการสั่งการ ไม่ทราบว่า การประชุมจะลดเพิ่มกำลังอย่างไร
“ความคิดผมหากมีการลดกำลังทหาร ที่มีการเผชิญที่อยู่บนเขาหลายร้อยคน ก็น่าจะเกิดผลดีต่อสภาพทั่วไป สถานการณ์ขณะนี้ถือว่าดี ความสัมพันธ์ของทหาร ที่อยู่ทั้งสองฝ่าย ไม่ได้เผชิญหน้ากันในลักษณะตึงเครียด คงเป็นการแสดงสัญลักษณ์ถึงการรักษาอธิปไตยเหนือดินแดน ทั้งนี้ไม่มีการตึงเครียดในการใช้กำลังซึ่งกันและกัน” พล.อ.อนุพงษ์กล่าว
เมื่อถามว่า การปรับกำลังในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร หลายฝ่ายกังวลไทยจะเสียเปรียบหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า ไม่ต้องห่วง การปรับกำลังพลจะมีความเท่าเทียมกัน ไม่เป็นที่เสียเปรียบได้เปรียบและไม่ให้เกิดปัญหาซึ่งกันและกัน ขวัญกำลังใจของทหารดีทุกพื้นที่ เมื่อถามว่า เบี้ยเลี้ยงทหารพรานที่มีอัตรา 21 บาทต่อวัน จะมีการอนุมัติเพิ่มเป็นกรณีพิเศษหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า คงยังไม่อนุมัติ ปัญหานี้เกิดจากสื่อวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทหารพรานไทยกินอยู่ไม่ดีเท่าที่ควร จึงอยากเรียนว่าเบี้ยเลี้ยงที่เขาได้ รับนอกเหนือเงินเดือน ก็จะมี 2 ส่วน คือ เบี้ยเลี้ยงที่ใช้ประกอบเลี้ยง แบ่งเป็น 15 บาท ค่าเสบียง 6 บาท ค่าเบี้ยเลี้ยงเพิ่มเติม รวม 21 บาทเป็นค่าประกอบเลี้ยงทุกวัน ส่วนอีก 10 บาทให้ไว้ติดตัวไว้ซื้ออาหารเพิ่มเติม
“ในพื้นที่เขาพระวิหารมีทหารพราน 6-7 กองร้อย ภาคใต้มีประมาณ 90 กองร้อย อยากเรียนให้ทราบว่าคนที่ทำงานเพื่อชาติ ทหารพรานกินอยู่วันละ 21 บาท แต่ก็กินดีอยู่ดีได้ขณะนี้ เมื่อได้เปรียบเทียบให้นายกรัฐมนตรี ฟังกับผู้ที่อยู่ในราชทัณฑ์ที่รับประทานวันละ 40 บาท บางแห่ง 60 บาท ซึ่งมากกว่าทหารพรานมาก ท่านก็บอกว่าจะแก้ไขให้ แต่คงมีขั้นตอนอีกเยอะ เกี่ยวกับกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณคงไม่ใช่ว่าจะอนุมัติจ่ายได้ แต่จะเรียนข้อมูลให้ทราบ” พล.อ.อนุพงษ์กล่าว
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเพิ่มเติม เมื่อค่ำวันเดียวกันว่า หลังการหารือปัญหาเขาพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี กัมพูชาได้ถอนคำฟ้องที่ยื่นต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ กรณีข้อพิพาทเขาพระวิหาร ระหว่างไทย-กัมพูชาแล้ว โดยนายฮอร์ นัม ฮง ยืนยันว่า การแก้ปัญหาของทั้ง 2 ประเทศ ควรต้องดำเนินไปตามกฎหมาย และคำนึงความสัมพันธ์อันดีเป็นหลัก ส่วนกำหนดการเจรจาเพื่อถอนกำลังทหารออกจากชายแดนไทย-กัมพูชา จะมีขึ้นอีกครั้งในวันที่ 29 ส.ค. โดยมีนายทหารระดับสูงของทั้ง 2 ฝ่าย เป็นตัวแทนเจรจา ขณะที่คณะกรรมการพิจารณาแบ่งเขตแดนมีกำหนดประชุมกันอีกครั้ง เพื่อติดตามความคืบหน้าในเดือน ต.ค.
ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับที่18474 วันพุธ ที่ 20 สิงหาคม 2551
4 ความคิดเห็น:
ดีแล้วค่ะชาวบ้านแถวนั้นจะได้อยู่อย่างสงบๆๆ
แม้กฤฎีกาจะมีมติ 5 ต่อ 1 ให้ 3 รัฐมนตรีและ รมว.คลัง
นางอุไรวรรณ รมว.แรงงาน และนายอนุรักษ์ รมช.คมนาคม
คดีหวยบนดินทำงานต่อไปได้ แต่ก็ใช่ว่าปลดข้อกังวลได้
เสียทั้งหมด เนื่องจากต้องลุ้น คำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางในวันนี้อีกครั้งว่า
จะวินิจฉัยกรณีกลุ่มอันตพาล พาลทะมิด เพื่อพรรด ปชป.ขอไต่สวนฉุกเฉินเพื่อระงับ
การปฎิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีทั้ง 3 คน หลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดส่งเรื่องต่อให้ศาลปกครองกลาง
พิจารณาต่อไป ทำให้ทนายของพาลทะมิด หน้าแตกอีกครั้ง ในการทำตามใบสั่งนาย
เห็นหนังสือฉบับนี้กันหรือยัง
ข้อตกลง
เรื่องการปักปันเขตแดน ไทย-กัมพูชา ปี พ.ศ.2543
ไทยและกัมพูชาตกลงกันในการปักปันเขตแดนระหว่าง 2 ประเทศ
โดยใช้สนธิสัญญาสยาม-ปารีส คศ.1904
และเอกสารแนบท้ายอื่นตามสนธิสัญญานี้ในการปักปันเขตแดน
ลงนาม **** มรว สุขุมพันธ์ บริพัทธ์ **** รมต ช่วยต่างประเทศ
(พรรคประชาธิปัตย์)
เนื้อหาในหนังสือข้อตกลงนี้
ได้ใช้แผนที่ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญาในการปักปันเขตแดน
ขีดเส้นตามแผนที่ฝรั่งเศส
ไทยจะเสีย
1.ปราสาทพระวิหาร
2.อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
3.พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร
4.ปราสาทตาเมือนธม
ใครสงสัยไปชม
ลายเซ็นต์ของ มรว สุขุมพันธ์ บริพัทธ์ ได้ที่กระทรวงการต่างประเทศนะครับ
ทำอะไรก็รีบๆทำไปเหอะ
จะได้จบๆไปซะที
แค่นี้บ้านเมืองก็วุ่นวายพอแล้ว
แสดงความคิดเห็น